วันพฤหัสบดีที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2557

เทคนิคการเพาะเมล็ด/และเทคนิคการปลูกพริก


เทคนิคการเพาะเมล็ด/และเทคนิคการปลูกพริก
ครั้นได้เมล็ดพันธุ์พริกมาแล้ว ให้นำไปแช่น้ำร้อน ถ้าหญ้าเริ่มยาวให้ใช้เครื่องตัดหญ้า หลังจากนั้นใช้น้ำร้อนเทลงไปในภาชนะก่อน 1 ส่วนและตามด้วยน้ำเย็นอีก 1 ส่วน ทดสอบโดยมือจุ่มลงไปพอมือเราทนได้ ก็ใช้ได้หรือประมาณ 50  องศา แช่ไว้ราว 30 นาที แล้วนำไปห่อในผ้าขาวบาง บ่มไว้ 1 คืนแล้วนำเมล็ดไปเพาะได้ โดยบ่มไว้ในกระติกน้ำร้อนก็ได้ ใช้ถ้วยคว่ำแล้วเอาเมล็ดพริกวางบนถ้วยที่คว่ำไว้ เพื่อไม่เมล็ดพริกแช่น้ำที่เราพ่นใส่เมล็ดพริกที่บ่ม เมล็ด พริกจะได้ไม่เน่าไปซะก่อนครับ



การนำเมล็ดไปเพาะมีด้วยกัน 3 กรรมวิธี
1. นำเมล็ดไปหยอดในถาดเพาะโดยตรง ถ้าเมล็ดไหนไม่งอกต้องถอนย้ายมาปลูกซ่อมแทนเพื่อความเสมอต้นเสมอปลายของต้นกล้า วิธีนี้ถือว่าง่ายและเร็วทันใจสุด
2. นำไปหว่านในตะกร้าพลาสติกในทราย โดยทรายที่นำไปเพาะนั้น ขอแนะนำให้ใช้ทรายขี้เป็ดที่หยาบสักหน่อย และต้องนำไปต้มเพื่อการฆ่าเชื้อโรคที่ติดมาเสียก่อน เมื่อต้มเรียบร้อย รอทรายที่ต้มเย็นก่อน แล้วนำมาใส่ตะกร้าพลาสติก  ก่อนใส่ทรายรองด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์ก่อน เสร็จแล้วก็นำเมล็ดหว่านลงในตะกร้าพลาสติก แล้วกลบด้วย ปุ๋ยหมักหรือขุยมะพร้าวที่ร่อนเอากากออกแล้ว รดน้ำและสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น เทอร์ราคลอ ซูเปอร์เอ๊กซ์ ในอัตรา  10 ซีซี.ต่อน้ำ 20 ลิตร ให้ทั่วเพื่อป้องกันรากเน่า โคนเน่า แล้วไม่ต้องรดน้ำตามหรือใช้เครื่องปั่นไฟ อย่าให้เปียกจนเกินไปจะทำให้เมล็ดพริกเน่าได้ หลังจากหว่านเมล็ดพริกไปได้ 7 -10 วันในฤดูร้อนก็สามารถย้ายลงถาดหลุมได้ ถ้า เป็นฤดูหนาวจะใช้เวลา 15 วันหรือมากว่านั้นตามอุณหภูมิที่เย็น
พอต้นกล้าอายุได้ครบ 10 วันก็พร้อมที่จะย้ายลงถาดหลุมได้ การย้ายก็ทำโดย ถอนต้นกล้าเฉพาะที่ต้นสม่ำเสมอและไม่เป็นโรคและแข็งแรงเท่านั้น จากตะกร้าเพาะมาปลูกลงในถาด โดยการเจาะหลุมที่ถาดเพาะก่อน เพื่อความรวดเร็วในการย้ายต้นกล้า หลังจากย้ายเสร็จแล้วก็ รดน้ำที่ผสมสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา จำพวก เทอร์ราคลอ อัตราการใช้ 10 ซีซี /20 ลิตร รดให้ทั่วเพื่อป้องกันโรคโคนเน่าที่จะเกิดตามมาได้ในทุกฤดู จะเน้นโดยเฉพาะฤดูฝน
หลังจากย้ายต้นกล้าได้ 15-20 วัน ก็สามารถนำต้นกล้าที่ได้ ไปปลูกลงแปลงได้

ศกนี้ต้องบอกว่า พริก...เป็นอีกพืชหนึ่งที่เจอไวรัสเยอะมากแทบจะทุกพื้นที่ที่ปลูก คำถามที่เจอในแวดวงเกษตรกลุ่มอื่นๆเข้ามาถามตลอดว่าจะแก้ปัญหาอย่างไร และคำตอบสุดท้าย...ก็คือ...ไม่มีวิธีการแก้ นอกจากการพ่นสารเคมีกำจัด เพลี้ยไฟ ไรแดง ไรขาวซึ่งเป็นแมลงพาหะ เมื่อแมลงตาย แต่ไวรัสที่อยู่ในต้นยังคงอยู่และยังแพร่ระบาดต่อไป สุดท้ายพริกเหลือง หงิก ด่างทั้งแปลง...เพียงเพราะ...ชาวไร่ไม่รู้จักยาไวรัส...ผู้รู้ยังบอกว่า...ไวรัสไม่มียา รักษา...ไวรัสยังแก้ไม่ได้....ฉีดธาตุอาหารเสริมสารพัดที่คิดว่าพริกจะกลับมาเขียวได้ แข็งแรงได้...ซึ่งไม่ใช่คำตอบ...ไวรัสจึงยังอยู่กับชาวไร่ต่อไป...และต่อไป
http://agriculturaltoolsblog.blogspot.com/2014/10/blog-post_16.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น